วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

3.ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์ : สิทธิบัตร 



      ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ผู้คิดขึ้นเป็นเจ้าของงานนั้นแต่เพียงผู้เดียว งานลิขสิทธิ์ที่เรามักจะพบเห็นกันอยู่เสมอ ได้แก่ งานเขียน งานพูด งานพิมพ์ต่าง ๆ หรืองานที่เกี่ยวกับรูป หรืองานที่เป็นลักษณะสามมิติ หรือการรวมเอาสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน รูปแบบของงานลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1. งานวรรณกรรม ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับงานเขียนหรืองานประพันธ์ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หรือบทความ หรืองานเขียนอื่น ๆ รวมถึงงานการพูดด้วย ได้แก่คำกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น 2. งานดนตรีกรรม คือ งานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับเพลงทำนอง เนื้อร้องของเพลง โน้ตเพลง 3. งานศิลปกรรม ปรากฏในรูปต่าง ๆ ดังนี้ งานจิตรกรรม ได้แก่ การวาดภาพ ภาพระบายสีต่าง ๆ ภาพเขียน ภาพวาด งานที่เกี่ยวกับการปั้น งานสถาปัตยกรรม แผนที่และวิธีการวาดแผนที่ งานการถ่ายภาพต่าง ๆ ได้แก่ การถ่ายภาพบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน งานโสตทัศนวัสดุ ได้แก่งานที่บันทึกภาพและบันทึกเสียง รวมถึงภาพยนตร์ด้วย นอกจากงานที่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางประเทศก็ยังให้ความคุ้มครองแก่งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์และงานศิลปประยุกต์ ได้แก่ การออกแบบเครื่องเพชร ตะเกียง กระดาษปิดฝาผนัง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยถือเป็นงานที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย สิทธิของผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ การให้ความคุ้มครองแก่งานอันเป็นลิขสิทธิ์นั้นถือว่าผู้คิดขึ้นเป็นเจ้าของงานโดยธรรม ผู้คิดขึ้นจึงเป็นผู้มีสิทธิในผลงานของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำประโยชน์จากงานของตน แต่ในระยะต่อมาภาวะทางเศรษฐกิจในแง่ของการลงทุนเพื่อการค้าบุคคลอื่นอาจนำผลงานของผู้สร้างสรรค์ไปทำประโยชน์ได้เพื่อการค้าโดยผู้คิดงานขึ้นก็จะได้รับผลตอบแทน การได้สิทธิในงานลิขสิทธิ์ งานลิขสิทธิ์เป็นของผู้สร้างสรรค์งานขึ้น ผู้ที่คิดงานขึ้นจึงเป็นเจ้าของ สิทธิในงานที่ตนคิดขึ้นโดยอัตโนมัติทันที ส่วนใหญ่แล้วงานอันเป็นลิขสิทธิ์จะไม่มีการจดทะเบียนเพื่อแสดงว่าเป็นเจ้าของเพราะสิ่งที่ผู้นั้นคิดขึ้นย่อมเป็นเจ้าของทันที ระยะเวลาการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ โดยปกติแล้วระยะเวลาของการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ จะกำหนดให้คุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์งาน และต่อไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์นั้นได้ตายลง จากนั้นแล้วงานลิขสิทธิ์ก็จะตกเป็นของสาธารณชน แต่ก็มีงานลิขสิทธิ์บางประเภทที่มีระยะเวลาสั้นกว่าที่กล่าวมาแล้ว เช่น งานศิลปประยุกต์ จะมีอายุการคุ้มครองเพียง 25 ปี นับแต่มีการสร้างสรรค์งานหรือมีการโฆษณางานครั้งแรก เพราะงานศิลปประยุกต์มิใช่งานที่เป็นศิลปโดยแท้แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการค้า ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตร แม้ว่าลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตรจะอยู่ในทรัพย์สินทางปัญญา แขนงเดียวกันก็ตามแต่คุณสมบัติพื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญของทั้งสองอย่าง มีความแตกต่างกันหลายประการได้แก่ 1. สิ่งประดิษฐ์ที่อาจได้รับสิทธิบัตรจะต้องเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งยังไม่เคยมีการเปิดเผยที่ใดมาก่อน จะต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น อันหมายถึงการประดิษฐ์ที่บุคคลที่มีความชำนาญในสาขานั้น ๆ ในระดับธรรมดาไม่สามารถที่จะทำการประดิษฐ์เช่นนั้นได้โดยง่าย และการประดิษฐ์นั้นสามารถจะประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ คือ การประดิษฐ์นั้น ๆ สามารถที่จะผลิตเป็นอุตสาหกรรมจำนวนมาก ๆ ได้ โดยผลผลิตทุกชิ้นมีคุณภาพเท่ากันเช่นเดียวกับต้นแบบหรือเรียกว่าเป็นการผลิตแบบ MASS PRODUCTION (ดังในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 มาตรา 5) ส่วนลิขสิทธิ์ที่จะเป็นงานที่ได้รับ ความคุ้มครองนั้น จะต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์งานนั้นเป็นผู้ริเริ่มขึ้น หรือเป็นงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยได้มีการโฆษณางานนั้นแล้ว (มาตรา 6 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521) 2. สิทธิบัตรจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองจนกว่าสิทธิบัตรนั้นจะได้มีการออกสิทธิบัตรแล้ว แต่ลิขสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่ผู้สร้างงานได้ทำงานนั้นขึ้น หรือได้มีการโฆษณางานนั้นแล้ว 3. ผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรแล้วมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร มีใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร และสิทธิของเจ้าของสิทธิบัตรมีขอบเขตตามที่ได้ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ ส่วนลิขสิทธิ์นั้นเจ้าของงานลิขสิทธิ์มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง การนำออกโฆษณางานของตน การให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ของตนแก่ผู้อื่น การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตนดังที่กล่าวมาแล้ว 4. สิทธิบัตรที่จะออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์นั้น ก่อนจะออกให้จะต้องการตรวจสอบในรายละเอียดการประดิษฐ์นั้น ๆ ว่ามีคุณสมบัติที่อาจจะได้รับสิทธิบัตรหรือไม่ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 โดยหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ออกสิทธิบัตรให้ซึ่งได้แก่สำนักงานสิทธิบัตรของประเทศนั้น ๆ จึงจะถือว่าสิทธิบัตรฉบับนั้นมีความสมบูรณ์ ส่วนงานลิขสิทธิ์นั้นผลงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเจ้าของงานมีสิทธิโดยสมบูรณ์ทันทีโดยไม่ต้องมีการยื่นคำร้องหรือจดทะเบียนใด ๆ หรือเมื่อมีการโฆษณางานนั้นแล้วและการจะอ้างถึงความไม่สมบูรณ์ของงานลิขสิทธิ์จะทำได้ ก็แต่โดยการนำความขึ้นสู่ศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสิน

15 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหามีสาระดีมากๆๆๆ

    ตอบลบ
  2. เยี่ยมไปเลย
    บล็อกนี้ เจ๋งมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้เพิ่มเติม

    ตอบลบ
  4. สุดยอดแมงแปกเลย ^^

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาดีมากๆเลยนะนี่

    ตอบลบ
  6. สุดๆไปเลย เนื้อหาดีมาก

    ตอบลบ