วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1.จริยธรรม จรรยาบรรณคอมพิวเตอร์ และความปลอดภัยของข้อมูล

หลักธรรมในการประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์

จริยธรรมกับงานคอมพิวเตอร์

     จริยธรรม(Ethics) หมายถึงความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคลและสังคม เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ทำให้เกิดการกระจายอำนาจต่างๆ ภายในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือคู่แข่ง การตกงานการประกอบอาชญากรรมข้อมูล การละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลอย่างมากในการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธิและความรับผิดชอบ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ จากภาวะนี้ทำให้เกิดการขาดคุณธรรมและจริยธรรมทางสังคม
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Ethical Considerations) จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบธรรม เพราะถ้าหากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง จะก่อให้เกิดความเสียหายในองค์กร เช่นพนักงานบัญชีภายในองค์กรได้ขายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายภายในองค์กรให้กับบริษัทคู่แข่ง ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีจริยธรรมในการทำงาน การใช้จริยธรรมหรือจรรยาบรรณกับวิทยาการ ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี และระบบธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่ยากจะควบคุมให้ทุกคนมีจริยธรรมในการปฏิบัติงานมีเหตุผลดังนี้

     1. การใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพราะการสื่อสารทำให้รวดเร็ว ที่ยุ่งยากซับซ้อน ปฏิสัมพันธ์ลดลง ทำให้จริยธรรมลดลงไปด้วย
     2. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงและการเรียกใช้งาน คัดลอกได้ง่ายทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
     3. ผลที่ได้จากการป้องกัน ความน่าเชื่อถือ ความมั่นคงของข้อมูล รวมทั้งความพร้อมของข้อมูลที่มีอยู่ มีผลต่อการแข่งขัน หากใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ทั้งสิ้น หากเรามีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ปัญหาจะลดลง จึงมักมีการจัดอบรมพนักงาน และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ให้คุณธรรม
ลินดา เฮอร์นดอน (Linda Herndon) Linda Herndon : Herndon : Computer Ethics, Netiquette, and Other
Concerns ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
     1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
     2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
     3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
     4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
     5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
     6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
     7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
     8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
     9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
     10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ

จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ (Association of Computer Machinery ACM Code of Conduct) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งมีดังนี้

1.) กฏข้อบังคับทางศีลธรรมทั่วไป
     1. ทำประโยชน์ให้สังคมและความผาสุกของมนุษย์ ข้อนี้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน เคารพความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้งหมด ลดผลด้านลบของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
     2. ไม่ทำอันตรายแก่ผู้อื่น อันตรายหมายรวมถึง การบาดเจ็บหรือผลต่อเนื่องด้านลบ เช่น การสูญเสียข้อมูลอันเป็นที่ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา หลักการข้อนี้ห้ามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปทำอันตรายต่อผู้ใช้สาธารณชน พนักงานและนายจ้างอันตรายนี้รวมถึงการจงใจทำลายหรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมที่ทำให้สูญเสีย หรือเสียเวลาและความพยายามของบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ทำลายไวรัสคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องรายงานสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลต่อความเสียหายของสังคมและบุคคล แม้ว่าหัวหน้างานจะไม่ลงมือแก้ไขหรือลดทอนอันตรายนั้น ก็อาจจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องทราบโดยอาจอาศัยผู้ร่วมวิชาชีพเป็นผู้ให้คำปรึกษา
     3. ซื่อสัตย์และไว้วางใจได้ นักคอมพิวเตอร์ที่ซื่อสัตย์นอกจากจะไม่จงใจแอบอ้างระบบหรือการออกแบบที่หลอกลวงอันเป็นเท็จแล้ว ยังจะต้องเปิดเผยอย่างเต็มที่ให้เห็นข้อจำกัดและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมดอีกด้วย
     4. ยุติธรรมและการกระทำที่ไม่แบ่งแยกกีดกัน ข้อบังคับข้อนี้ใช้คุณค่าของความเสมอภาค ความใจกว้างให้อภัย เคารพในผู้อื่น ความเที่ยงธรรม การแบ่งแยกกีดกันโดยเชื้อชาติ เพศ ศาสนา อายุ ความพิการ สัญชาติ หรือปัจจัยอื่นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
     5. ให้เกียรติสิทธิในทรัพย์สิน รวมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิ์บัตร แม้ว่าสิ่งซึ่งมีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า การละเมิดข้อตกลงการใช้สิทธิ จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอยู่แล้ว แม้แต่ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง การละเมิดก็ถือว่าเป็นการขัดต่อการประพฤติทางวิชาชีพ การลอกหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์จะต้องทำโดยมีอำนาจหน้าที่เท่านั้น การทำสำเนาวัสดุใด ๆ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้
     6. ให้เกียรติแก่ทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องป้องกันหลักคุณธรรมของทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่างานนั้นจะไม่ได้รับการป้องกันอย่างเปิดเผยก็ตาม เช่น งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
     7. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หลักการนี้ยังหมายถึง การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบเท่าที่จำเป็น มีระยะเวลากำหนดการเก็บรักษาและทิ้งอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ เพื่อการอื่นโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นมิได้
    8. ให้เกียรติในการรักษาความลับ หลักแห่งความซื่อสัตย์ข้อนี้ขยายไปถึงความลับของข้อมูลที่ไม่ว่าจะแจ้งโดยเปิดเผยหรือสัญญาว่าจะปกปิดเป็นความลับ หรือโดยนัยเมื่อข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของผู้นั้นปรากฏขึ้น จริยธรรมข้อนี้เกี่ยวข้องกับการเคารพข้อบังคับทั้งหลายที่เกี่ยวกับความลับของขายจ้าง ลูกค้า ผู้ใช้ เว้นเสียแต่เปิดเผยโดยกฎหมายบังคับหรือตามหลักแห่งจรรยาบรรณนี้

2.) ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
     1. มุ่งมั่นเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด และให้ตระหนักถึงผลเสียหายที่สืบเนื่องจากระบบที่ด้อยคุณภาพ
     2. ได้มาและรักษาไว้ซึ่งความเชี่ยวชาญแห่งวิชาชีพ
     3. รับรู้และเคารพกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายแห่งรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศ
     4. ยอมรับและจัดให้มีการสอบทานทางวิชาชีพ (Professional Review)
     5. ให้ความเห็นประเมินระบบคอมพิวเตอร์และผลกระทบอย่างละเอียดครบถ้วน รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นไปได้
     6. ให้เกียรติ รักษาสัญญา ข้อตกลง และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
     7. ปรับปรุงความเข้าใจของสาธารณชนต่อคอมพิวเตอร์และผลสืบเนื่อง
     8. เข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์และสื่อสารเฉพาะเมื่อได้รับมอบอำนาจตามหน้าที่เท่านั้นไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ซอฟต์แวร์ แฟ้มข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้ขออนุญาต

3.) จริยธรรมในการใช้E-mail,Webboard1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
     1. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
     2. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
     3. คิดก่อนเขียน
     4. อย่าใช้อารมณ์
     5. พยายามอ่านคำถามที่ถามบ่อย (FAQ) ก่อนเสมอ
     6. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
     7. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
     8. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
     9. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
    10. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
    11. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
    12. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง
หลักธรรมที่นำมาใช้ในการทำงานด้าน
ความหมายของคำว่าจริยธรรม และคุณธรรม            
     ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการทำงาน เล่นเกม สนทนา ติดธุรกิจ การป้องกันภัย รวมถึงเพื่อความบันเทิงด้วย ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่เสื่อมเสีย และก่อให้เกิดโทษตามมามากมาย เพระผู้ใช้เหล่านั้นยังไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้หากบุคคลผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใดยังไม่มีแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอีกมาก



ลักษณะของจริยธรรม และคุณธรรมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์
             จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน



บัญญัติ 10 ประการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
 
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์

12 ความคิดเห็น:

  1. เนื่อหาชัดเจนมากเลยอ่ะ อ่านเเล้วเข้าใจง่ายๆ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาสาระดีมากๆเลยจ๊ะ

    ตอบลบ
  3. เยี่ยมไปเลย
    บล็อกนี้ เจ๋งมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. สุดยอดแมงแปกเลย ^^

    ตอบลบ
  5. เนื้อหา เปะมากๆๆเรยอ่ะ ได้ความรู้จิงๆ

    ตอบลบ